ประวัติการก่อตั้งอาเซียน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย
- นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
- นายตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
- นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย
- นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
- นายตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
- นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
- นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์)
- พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย)
ทั้งนี้ ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม พ .ศ.2527) เวียดนาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) ประเทศลาว, ประเทศพม่า (เป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ .2540) และประเทศกัมพูชา (เป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2542) ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่ง สันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และ วัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยแบ่งออก เป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม พ .ศ.2527) เวียดนาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) ประเทศลาว, ประเทศพม่า (เป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ .2540) และประเทศกัมพูชา (เป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2542) ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่ง สันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และ วัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยแบ่งออก เป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
สัญลักษณ์ของอาเซียน
สัญลักษณ์ของอาเซียนนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้มานานตั้งแต่ก่อตั้ง ประกอบไปด้วยรูปรวงข้างสีเหลืองจำนวน 10 ต้น บน พื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน โดยมีความหมายว่าดังนี้...
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
รู้จัก ธงอาเซียน และสัญลักษณ์ของอาเซียน ทั้งหมดคลิกเลย
กฎบัตรอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน หรือ ASEAN Charter เรียกง่าย ๆ ก็คือ ธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมาย และโครง สร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ใหญ่ ในปี พ.ศ.2558 ที่ทั้ง 10 ประเทศจะจับมือกันขับเคลื่อนเพื่อเป็นประชาคมอาเซียน
อย่างไรก็ตาม กฎบัตรอาเซียนดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
กฎบัตรอาเซียน หรือ ASEAN Charter เรียกง่าย ๆ ก็คือ ธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมาย และโครง สร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ใหญ่ ในปี พ.ศ.2558 ที่ทั้ง 10 ประเทศจะจับมือกันขับเคลื่อนเพื่อเป็นประชาคมอาเซียน
อย่างไรก็ตาม กฎบัตรอาเซียนดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
ประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
1.การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการ ประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
2.ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบ คลุมความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติ เพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อ ต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
3.การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-AEC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
2.การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3.สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4.ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5.การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6.การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn
คำขวัญอาเซียน
The motto of ASEAN is "One Vision, One Identity, One Community."
คำขวัญอาเซียน "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม"
"The ASEAN Way"
เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนอง และ เรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประเทศไทยกับอาเซียน
ตลอดระยะเวลา 45 ปีที่ผ่านมา ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมอาเซียน ทางไทยได้ประโยชน์หลายประการจากอาเซียน ทั้งในแง่การเสริมสร้างความมั่นคงซึ่งช่วยเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยเป็นฝ่ายได้ ดุลมาตลอด ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่าย อินเทอร์เน็ต ฯลฯ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย นอกจากนี้อาเซียนยังเป็นแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย ซึ่งไทยจะได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นเพราะมีที่ตั้งอยู่ใจ กลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งในภูมิภาค
สำหรับในอนาคต คนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียม ความพร้อมของรัฐบาล ซึ่งทางรัฐบาลต้องสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชน เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริม สร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผล กระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ
สมาชิกเลขาธิการอาเซียน
List of Secretaries-General of ASEAN รายชื่อเลขาธิการอาเซียน
This is a list of Secretaries-General of the Association of Southeast Asian Nations.
รายชื่อเลขาธิการอาเซียนตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
1. H.R. Dharsono อินโดนีเซีย
ดำรงตำแหน่ง : 7 มิถุนายน ค.ศ. 1976 - 18 กุมภาพันธ์ 1978
2. Umarjadi Notowijono อินโดนีเซีย
ดำรงตำแหน่ง : 18 กุมภาพันธ์ 1978 - 30 มิถุนายน 1978
3. Datuk Alibin Abdullah มาเลเซีย
ดำรงตำแหน่ง : 10 กรกฎาคม 1978 - 30 มิถุนายน 1980
4. Narciso G. Reyes ฟิลิปปินส์
ดำรงตำแหน่ง : 1 กรกฎาคม 1980 - 1 กรกฎาคม 1982
5. Chan Kai Yau สิงคโปร์
ดำรงตำแหน่ง : 18 กรกฎาคม 1980 - 15 กรกฎาคม 1984
6. Phan Wannamethee ไทย
ดำรงตำแหน่ง : 16 กรกฎาคม 1984 - 15 กรกฎาคม 1986
7. Roderic Yong บรูไน
ดำรงตำแหน่ง : 16 กรกฎาคม 1986 - 15 กรกฎาคม 1989
8. Rusli Noor อินโดนีเซีย
ดำรงตำแหน่ง : 17 กรกฎาคม 1989 - 1 มกราคม 1993
9. Dato Ajit Singh มาเลเซีย
ดำรงตำแหน่ง : 1 มกราคม 1993 - 31 ธันวาคม 1997
10. Rodolfo C. Severino jr., ฟิลิปปินส์
ดำรงตำแหน่ง : 1 มกราคม 1997 - 31 ธันวาคม 2002
11. Ong Keng Yong สิงคโปร์
ดำรงตำแหน่ง : 1 มกราคม 2003 - 31 ธันวาคม 2007
12. Dr.Surin Pitsuwan ไทย
13. Le Luong Minh เวียดนาม
ดำรงตำแหน่ง : 1 มกราคม 2013 - ปัจจุบัน
How to register and download Casino Site | Clients | Quilla Casino
ตอบลบLooking for the latest Casino Site bonus febcasino codes? Check out our full guide of casinos หารายได้เสริม online for your chance to get instant access 카지노 to casino rewards and